การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ เป็นการทดแทนส่วนฟันที่หายไปโดยให้น้ำหนักในการบดเคี้ยวกดลงไปบนเหงือกส่วนการใส่ฟันปลอม
ชนิดสะพานฟัน เป็นการใส่ฟันโดยให้น้ำหนักบดเคี้ยวกดลงไปที่ ฟันข้างเคียง แต่การฝังรากเทียมนั้นเป็นการทดแทนส่วนของฟัน และส่วนของรากฟันธรรมชาติที่หายไปทั้ง 2 ส่วน โดยมีลักษณะเหมือนชุดฟันที่ 3 งอกออกมาจริงๆ จากเหงือก โดยส่วนของฟัน ปลอมจะติดอยู่กับรากฟันเทียม น้ำหนักการบดเคี้ยวจะกดลงไปที่ กระดูกขากรรไกรเหมือนฟันจริง ๆ วิธีการทำ คือ ทันตแพทย์จะเริ่ม ฝังรากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกรเป็น ขั้นแรก แล้วทิ้ง ไว้ให้อยู่นกระดูกขากรรไกรใต้เหงือกเป็น เวลา นาน 3-6 เดือน โดยไม่ให้ ได้รับการกระทบกระเทือน จากฟันปลอมถอดได้ที่มีอยู่เดิม
หลังจากนั้นจะต่อส่วนของฟันปลอมบนรากฟันเทียมำให้มีความสวยงามและทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ มากกว่าการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น รากฟันเทียมผลิตมาจากแท่งไทเทนเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งร่างกายของคนเราสามารถเข้ากันได้ดีกันไทเทเนียม และไม่เป็นอันตรายกับร่างกายมนุษย์ โดยมีการใช้ในวงการแพทย์มาเป็นเวลานานแล้ว
กรณีฟันแท้ที่เพิ่งถูกถอนออกไปได้ไม่นาน เราสามารถฝังรากฟันเทียมเข้าไปแทนที่ได้ทุกตำแหน่ง เช่น

1 ฟันแท้ถูกถอนไปซี่เดียวไม่ว่าจะเป็นฟันหน้าหรือฟันหลัง ฟันบนหรือฟันล่าง เราสามารถฝังรากฟันเทียมเข้าไปแทน ที่ฟันเดิมที่หายไปโดยใช้เวลา 3-4 เดือน ฟันปลอมจะมีลักษณะคล้ายกับมีฟันธรรมชาติงอกขึ้นมาใหม่ 1 ซี่ โดยไม่ต้องครอบฟันข้างเคียงหรือใส่เพดานปลอม

2 ฟันกรามด้านหลังถูกถอนออกไปหมดทำให้ไม่สามารถใส่สะพานฟันชนิดติดแน่นได้ ต้องใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เท่านั้นแต่ปัจจุบันการฝังรากฟันเทียมจะช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกมั่นใจในการใส่ฟันมาก ขึ้นว่าสามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ
3 กรณีที่ฟันถูกถอนออกไปทั้งปาก ทันตแพทย์สามารถฝังรากฟันเทียมลงไปได้ทุกตำแหน่งแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก จึงฝังรากฟันเทียมบางตำแหน่งที่จำเป็นร่วมกับการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เพื่อเป็นหลักยึดไม่ให้ฟันปลอมเคลื่อน ไปขณะเคี้ยวอาหารซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวดีขึ้นกว่าการใส่ฟันปลอมทั้งปากชนิดถอดได้แต่เพียงอย่างเดียว
4 การฝังรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่ถูกถอนออกไปนานแล้ว ผู้ที่ถูกถอนฟันออกไปนานๆ กระดูกขากรรไกรทั้งบน และล่างบริเวณที่ถูกถอนไปจะมีการละลายตัวหรือยุบตัวลง ทำให้ไม่มีเนื่อที่ของกระดูกพอที่จะฝังรากฟันเทียม ดังนั้น ทันตแพทย์จำเป็นต้องเสริมกระดูกขากรรไกรก่อนโดยอาจใช้ขากรรไกรบริเวณอื่น กระดูกจากสะโพกหรือใช้กระดูกสังเคราะห์ โดยต้องทิ้งไว้ 6-12 เดือน แล้วจึงทำการฝังรากฟันเทียม
และแล้ววันหนึ่งเราก็พบว่า ฟันแท้ต้องถูกถอนออกไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุฟันผุ โรคเหงือก หรืออุบัติเหตุ ช่องว่างที่เกิดขึ้น หลังจากฟันถูกถอนไปจำเป็นต้องใส่ฟันปลอมมาทดแทนเพื่อความสวยงาม และประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่เหมือนเดิม มิฉะนั้นผลเสียจากการไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดขึ้นมากมาย เช่น ฟันข้างเคียงล้ม ฟันคู่สบยื่นยาวออกมาทให้เศษอาหารติด ได้ง่ายและมีการยุบตัวของกระดูกขากรรไกรบริเวณที่มีฟันถูกถอนออกไป
เป็นที่ทราบกันดีว่าเรามีทางเลือกในการใส่ฟันปลอมได้ 2 วิธี คือ ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือใส่สะพานฟัน ชนิดติดแน่น คนไข้หลายคนพบว่า หลังจากใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้แล้วก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น รำคาญเพราะมีแผ่นเหงือกปลอมอยู่ใต้เพดานหรือใต้ลิ้นทำให้พูดไม่ชัด ประสิทธิภาพของการบดเคี้ยวด้อยลงไปไม่สามารถเคี้ยวของเหนียวหรือของแข็งได้เหมือนเดิม บางครั้งทำให้พูดไม่ชัด และเมื่อใส่ไปนาน ๆ ฟันปลอมชนิดถอดได้นี้ก็หลวมลง ขณะไอ จาม หรือหัวเราะดัง ๆ บางครั้งก็หลุดออกมานอกปาก
ส่วนวิธีการใส่สะพานฟันชนิดติดแน่นนั้น ทันตแพทย์จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันข้างเคียงที่ดีออกไป เพื่อเป็นหลักยึดสะพานฟันที่ทำขึ้นมาใหม่
แน่นอนจากการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ของทันตกรรม ทำให้มีคำตอบที่ดีกว่าในการใส่ฟันปลอม นั้นคือ การฝังรากฟันเทียม